วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2561

เทคโนโลยี

คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาความหมาย ลักษณะสำคัญ ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ข้อมูล
สารสนเทศ การประมวลผลสารสนเทศ ชนิดของข้อมูล การจัดการสารสนเทศ ระดับของสารสนเทศ บทบาท
และประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ องค์ประกอบคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ของ หน่วยรับเข้า หน่วยส่งออก
และหน่วยเก็บข้อมูล หลักการทำงานของ คอมพิวเตอร์ การใช้งานและดูแลรักษาคอมพิวเตอร์
นำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้และชีวิตประจำวัน อย่างมีจิตสำนึก คุณธรรม และจริยธรรม
ผลการเรียนรู้
  1. อธิบายความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้
  2. อธิบายลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้
  3. อธิบายผลกระทบของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้
  4. อธิบายความหมายของข้อมูล สารสนเทศ และการประมวลผลสารสนเทศ
  5. อธิบายชนิดข้อมูลตามแหล่งที่มาและรูปแบบการแทนข้อมูล
  6. อธิบายส่วนประกอบของการจัดการสารสนเทศพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
  7. อธิบายองค์ประกอบหลัก และอุปกรณ์ต่อพ่วงของคอมพิวเตอร์
  8. เข้าใจวิธีการแทนข้อมูลในคอมพิวเตอร์ และการแปลงค่าระหว่างเลขฐานสองกับเลขฐานสิบ
  9. อธิบายชนิดของอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก และสามารถเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม
  10. อธิบายความแตกต่างและการทำงานของหน่วยความจำและหน่วยเก็บข้อมูล
  11. อธิบายองค์ประกอบและหน้าที่ของหน่วยประมวลผลกลาง รวมถึงความสัมพันธ์ในการทำงานระหว่างหน่วยประมวลผลและหน่วยความจำ
  12. รู้จักอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆที่อาจทำหน้าที่ได้ทั้งรับและส่งออก
  13. รู้จักวิธีทำความสะอาด และดูแลอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
โครงสร้างรายวิชา

ชื่อหน่วยการเรียนรู้เวลา(ชั่วโมง)
แนะนำรายวิชา/ทดสอบ Pre-Test1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1รู้จักกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
1.1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารคืออะไร1
1.2 ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสาร
1
1.3 ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสาร
1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2ข้อมูลและสารสนเทศ
2.1 ข้อมูล2
2.2 การจัดการสารสนเทศ1
2.3 ระดับสารสนเทศ1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3องค์ประกอบคอมพิวเตอร์
3.1 คอมพิวเตอร์1
3.2 การแทนข้อมูล2
3.3 หน่วยรับเข้า2
3.4 หน่วยประมวลผลกลาง1
3.5 หน่วยความจำ1
3.6 หน่วยส่งออก1
3.7 หน่วยเก็บข้อมูล1
3.8 อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำงานได้หลายหน้าที่1
3.9 การใช้งานและดูและรักษาคอมพิวเตอร์1

1


ภาษาจีน

ศึกษาทักษะการปฏิบัติตามคำสั่งง่ายๆระบุสัทอักษรตามระบบพินอินอ่านออกเสียง และประสมเสียงคำง่ายๆ ตามหลักการออกเสียงระบุภาพ หรือสัญลักษณ์ ตรงตามความหมายของคำ กลุ่มคำ และประโยคจากการฟังหรือการอ่านตอบคำถามง่ายๆ จากการฟัง พูดโต้ตอบด้วยประโยคสั้นๆ เพื่อสื่อสารระหว่างบุคคลพูดเพื่อขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง เพื่อน ครอบครัว และสิ่งใกล้  เขียนตัวเขียนอักษรจีนตามหลักการเขียน คำศัพท์ง่ายๆบอกความเหมือน หรือความแตกต่างของเสียงตัวอักษร คำ กลุ่มคำ  ประโยค และข้อความของภาษาจีนกับภาษาไทย
โดยใช้กระบวนการฟังการพูดการอ่านการเขียนและกระบวนการคิดวิเคราะห์ใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการรับสารและส่งสารได้อย่างคล่องแคล่วถูกต้องเข้าถึงสารได้อย่างชัดเจนรวมทั้งกระบวนการสืบเสาะหาความรู้กระบวนการกลุ่มการอภิปรายและมีความสามารถในการสืบค้นข้อมูล

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

๑.      ปฏิบัติตามคำสั่งง่ายๆ
๒.    ระบุสัทอักษรตามระบบพินอินอ่านออกเสียง และประสมเสียงคำง่ายๆ ตามหลักการออกเสียง
๓.     ระบุภาพ หรือสัญลักษณ์ ตรงตามความหมายของคำ กลุ่มคำ และประโยคจากการฟังหรือการอ่าน
๔.           ตอบคำถามง่ายๆ จากการฟัง
๕.     พูดโต้ตอบด้วยประโยคสั้นๆ เพื่อสื่อสารระหว่างบุคคล
๖.      พูดเพื่อขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง เพื่อน ครอบครัว และสิ่งใกล้ตัว
๗.     เขียนอักษรจีนตามหลักการเขียน คำศัพท์ง่ายๆ
๘.     บอกความเหมือน หรือความแตกต่างของเสียงตัวอักษร คำ กลุ่มคำ  ประโยค และข้อความของภาษาจีนกับภาษาไทย

รวมทั้งหมด ผลการเรียนรู้

พละ

ศึกษาและมีส่วนร่วมในการปฏิบัติจริงในกิจกรรมของกีฬาวอลเลย์บอล กติกา  มารยาท  วิธีเล่น  การเคลื่อนไหว  การออกกำลังกายด้วยการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล  ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกายในการออกกำลังกาย  ทักษะการเล่นกีฬาประเภททีม  เพื่อให้มีความรู้  ความเข้าใจ  และเห็นคุณค่าของสุขภาพ  สมรรถภาพ  ความปลอดภัยในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอลของตนเอง และของผู้อื่น  สามารถออกกำลังกายและเล่นกีฬาวอลเลย์บอลเพื่อนำไปใช้ออกกำลังกายในชีวิตประจำวันและเผยแพร่ความรู้ให้กับผู้อื่นได้
              


สังคม

บทที่ 1
ลักษณะของสังคมชมพูทวีป และคติความเชื่อทางศาสนาสมัยก่อนพระพุทธเจ้า
ในสมัยพุทธกาล อินเดียหรือชมพูทวีป แบ่งอาณาเขตเป็น 2 เขตคือเขตภาคกลาง เรียกว่า มัชฉิมชนบทหรือมัธยมประเทศ เป็นที่อยู่ของชนชาติอริยกะ หรืออารยัน แปลว่า ผู้เจริญเป็นดินแดนของชนผิวขาว
เขตรอบนอก เรียกว่า ประจันตชนบทหรือประจันตประเทศ คือ ประเทศปลายเขตเป็นที่อยู่ของชนชาติมิลักขะ หรืออนารยชน เป็นดินแดนของชนพื้นเมือง
ชมพูทวีป คืออาณาเขตที่เป็นประเทศอินเดีย ปากีสถาน อัฟกานิสสถาน ศรีลังกา บังคลาเทศ และเนปาลในปัจจุบัน (ปัจจุบันเลิกใช้ชื่อชมพูทวีปนี้แล้ว) ในสมัยพุทธกาล ชมพูทวีปนอกจากแบ่งเป็น 2 เขตดังกล่าวแล้ว ได้แบ่งเป็นแคว้นต่างๆ มีจำนวน 16 แคว้น แต่ละแคว้นที่มีความสำคัญในสมัยพุทธกาลมีเพียง 6 แคว้น คือ แคว้นมคธ แคว้นวังสะ แคว้นอวันตี แคว้นกาสี แคว้นสักกะ และแคว้นโกศล
ลักษณะทางด้านการปกครอง แบ่งได้ 2 ระบบ
1. การปกครองแบบราชาธิปไตย พระมหากษัตริย์หรือผู้ครองแคว้นมีอำนาจสิทธิขาดผู้เดียว มีรัชทายาทสืบสันตติวงศ์แคว้นใหญ่ๆ ส่วนมากปกครองด้วยระบบนี้ เช่น
* แคว้นมคธ มีพระเจ้าพิมพิสารปกครอง
* แคว้นโกศล มีพระเจ้าปเสนทิโกศลปกครอง
* แคว้นอวันตี มีพระเจ้าจันปัชโชตปกครอง
* แคว้นวังสะ มีพระเจ้าอุเทนปกครอง
การปกครองของกษัตริย์ แม้จะมีอำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครอง แต่ก็มีธรรมเป็นหลักในการปกครอง
หลักธรรมสำคัญของกษัตริย์ ได้แก่
* ทศพิธราชธรรม 10 ประการ
* สังคหวัตถุ 4 ประการ
ทศพิธราชธรรม มีธรรมประกอบด้วย
ทาน              การให้
ศีล                การรักษากาย วาจา ใจให้เป็นปกติ
บริจาคะ        การแบ่งปัน การบริจาคแก่ผู้ยาก
อาชวะ          ความซื่อตรงต่อตนเองและผู้อื่น
มัททวะ         ความอ่อนโยน ไม่กระด้าง
ตบะ              ความเพียรพยายาม
อักโกธะ        ความไม่โกรธ
อวิหิงสา       ความไม่เบียดเบียน
ขันติ             ความอดทน อดกลั้น
อวิโรธนะ      ความไม่ทำให้ผิด (ความไม่คลาด)
สังคหวัตถุ ประกอบด้วย
ทาน              การให้ คือการให้สิ่งของให้คุณธรรม ให้อภัย
ปิยะวาจา      คำปราศรัยอันอ่อนโยน
อัตถจริยา      การทำตนให้เกิดประโยชน์
สมานัตตา     การวางตนเสมอตน เสมอปลาย
2. การปกครองแบบสามัคคีธรรม หรือการปกครองแบบประชาธิปไตย การปกครองแบบนี้ไม่มีพระมหากษัตริย์ผู้มีอำนาจสิทธิ์ขาด ไม่มีการสืบสันตติวงศ์ การปกครองระบบนี้การบริหารประเทศขึ้นอยู่กับสถาบันสำคัญ คือ รัฐสภา ซึ่งสมัยเรียกว่า สัณฐาคาร มีประมุขรัฐสภาและมีคณะกรรมการรัฐสภาเป็นคณะกรรมการบริหารในสมัยพุทธกาล มีลักษณะดังนี้
ประมุขรัฐสภา  ผู้เคยดำรงตำแหน่งนี้คือพระเจ้าสุทโธทนะแห่งศากยวงศ์ แคว้นสักกะ กรุงกบิลพัสดุ์
คณะกรรมการ
ฝ่ายบริหารบ้านเมือง  ในสมัยพุทธกาล ได้แก่ กษัตริย์ลิจฉวี แห่งเมืองเวสาลี แคว้นวัชชี
กรรมการรัฐสภา  มาจากหัวหน้าครอบครัวใหญ่ๆ ระดับเมือง (ชนบท) ระดับอำเภอ
สมาชิกรัฐสภาจะต้องให้คำปฏิญญาต่อสัณฐาคาร หรือรัฐสภา เช่น จะรักษาไว้ซึ่งประโยชน์ส่วนรวม จะไม่ขาดประชุม จะแสดงความคิดโดยเปิดเผย จะต้องปราศจากความโกรธแคว้นเมื่อถูกกล่าวหา และจะยอมรับสารภาพถ้ากระทำผิด
หลักธรรมที่การปกครองยึดถือปฏิบัติคือ อปริหานิยธรรม มีสาระสำคัญ คือ
* หมั่นประชุมกันอย่างเนืองนิตย์
* พร้อมเพียงกันประชุม พร้อมเพียงกันเลิกประชุม
* ไม่บัญญัติสิ่งใหม่อันขัดต่อหลักการเดิม ไม่ล้มล้างบัญญัติเก่าที่ยังใช้ได้อยู่
* เคารพนับถือและเชื่อฟังผู้ใหญ่
* ปกครองสตรี มิให้ถูกข่มเหงรังแก
* เคารพในปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุ
* คุ้มครองป้องกันภัยแก่ สมณ ชี พราหมณ์ ผู้เป็นที่พึ่งทางใจของประชาชน
ลักษณะสังคมของชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล
สังคม หมายถึง กลุ่มชนที่อยู่รวมกัน เป็นบ้าน เป็นเมือง เป็นประเทศชาติ โดยมีระบบแห่งความสัมพันธ์ที่มีหลักการ ได้แก่ การปกครอง การศึกษา เศรษฐกิจ ศาสนา ความก้าวหน้าทางศิลปวิทยา และการนันทนาการ
ลักษณะทางสังคมของชมพูทวีปสมัยพุทธกาล ได้มีการแบ่งวรรณะอยู่แล้วเป็น 4 วรรณะคือ
* วรรณะกษัตริย์ ได้แก่ พวกเจ้า กษัตริย์ นักรบ นักปกครอง สีประจำวรรณะ คือสีแดง
* วรรณะพราหมณ์ ได้แก่ นักบวช ศึกษาคัมภีร์พระเวท มีหน้าที่ติดต่อกับเทวะหรือเทพเจ้า ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา สีประจำวรรณะ คือสีขาว
* วรรณะแพศย์ ได้แก่ พ่อค้า คหบดี หรือบุคคลที่ประกอบอาชีพต่างๆ เช่น พาณิชยกรรม เกษตรกรรม ศิลปหัตถกรรม พวกนี้เป็นชนชั้นกลางในสังคม สีประจำวรรณะ คือสีเหลือง
* วรรณะศูทร ได้แก่ กรรมกร ลูกจ้าง เป็นพวกชนชั้นต่ำ ผู้ใช้แรงงาน เป็นชนชั้นล่างของสังคม สีประจำวรรณะ คือสีเขียว หรือสีดำ
นอกจากนี้ ยังมีพวกนอกวรรณะ ที่เรียกว่า จัณฑาล ถือว่าเป็นคนชั้นต่ำสุด เพราะถือกำเนิดจากมารดาที่มีวรรณะสูงกว่าบิดา เช่น มารดาเป็นแพศย์ บิดาเป็นศูทร บุตรจะเกิดมาเป็นจัณฑาล ถูกเหยียดหยามจากวรรณะอื่นๆ ไม่มีศักดิ์และสิทธิ์ใดๆ ทางสังคม
มูลเหตุที่ทำให้เกิดวรรณะ

ประวัติศาสนา

ศึกษา วิเคราะห์ ความสำคัญของเวลาในการศึกษาประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์และความสำคัญของอดีตที่มีต่อปัจจุบันและอนาคต  ที่มาและตัวอย่างการใช้ศักราชในเอกสารประวัติศาสตร์ไทย วิธีการเทียบศักราชตามแบบต่างๆ  การนำวิธีการทางประวัติศาสตร์ไปใช้ศึกษาเรื่องราวของประวัติศาสตร์ไทยที่มีอยู่ในท้องถิ่นและเหตุการณ์สำคัญสมัยสุโขทัย  ประวัติศาสตร์ไทยสมัยก่อนสุโขทัยในดินแดนไทยโดยสังเขป  รัฐโบราณและรัฐไทยในดินแดนไทย
                โดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์  กระบวนการสืบค้นข้อมูล  กระบวนการปฏิบัติ  กระบวนการกลุ่ม  กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ  กระบวนการแก้ปัญหา  และวิธีการทางประวัติศาสตร์
                เพื่อให้เกิดความรู้  ความเข้าใจถึงความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ อย่างเป็นระบบ  เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย พัฒนาการด้านต่างๆ วัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาไทย  มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านรักชาติ  ศาสน์  กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต  มีวินัย  ใฝ่เรียนรู้  มุ่งมั่นในการทำงาน  รักความเป็นไทย  และมีจิตสาธารณะ

ภาษาไทย

1.การสร้างคำโดยใช้คำมูล คำประสม คำสมาส คำสนธิ คำซ้ำ และคำซ้อน

           การสร้างคำในภาษาไทย
           คำที่ใช้ในภาษาไทยดั้งเดิม ส่วนมากจะเป็นคำพยางค์เดียว เช่น พี่น้อง เดือนดาว จอบไถ หมูหมา กิน นอน ดี ชั่ว สอง สาม เป็นต้น เมื่อโลกวิวัฒนาการ มีสิ่งแปลกใหม่เพิ่มขึ้น ภาษาไทยก็จะต้องพัฒนาทั้งรูปคำและการเพิ่มจำนวนคำ เพื่อให้มีคำใช้ในการสื่อสารให้เพียงพอ กับการเปลี่ยนแปลงของวัตถุสิ่งของและเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยการสร้างคำ ยืมคำและเปลี่ยนแปลงรูปคำซึ่งจะมีรายละเอียดดังนี้

           แบบสร้างคำ
           แบบสร้างคำ คือ วิธีการนำอักษรมาประสมเป็นคำเกิดความหมายและเสียงของแต่ละ พยางค์ ใน ๑ คำ จะต้องมีส่วนประกอบ ๓ ส่วน เป็นอย่างน้อย คือ สระ พยัญชนะและวรรณยุกต์ อย่างมากไม่เกิน ๕ ส่วน คือ สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ ตัวสะกด ตัวการันต์

           รูปแบบของคำ
           คำไทยที่ใช้อยู่ปัจจุบันมีทั้งคำที่เป็นคำไทยดั้งเดิม คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ คำศัพท์เฉพาะทางวิชาการคำที่ใช้เฉพาะในภาษาพูด คำชนิดต่าง ๆ เหล่านี้มีชื่อเรียกตามลักษณะ และแบบสร้างของคำ เช่น คำมูล คำประสม คำสมาส คำสนธิ คำพ้องรูป คำพ้องเสียง คำเหล่านี้มีลักษณะพิเศษเฉพาะ ผู้เรียนจะเข้าใจลักษณะแตกต่างของคำเหล่านี้ได้จากแบบสร้างของคำ

           ความหมายและแบบสร้างของคำชนิดต่าง ๆ     
           1. คำมูล

           คำมูล คือ คำ ๆ เดียวที่มิได้ประสมกับคำอื่น อาจมี ๑ พยางค์ หรือหลายพยางค์ก็ได้ แต่่เมื่อแยกพยางค์แล้วแต่ละพยางค์ไม่มี
ความหมาย คำภาษาไทยที่ใช้มาแต่เดิมส่วนใหญ่ เป็นคำมูลที่มีพยางค์เดียวโดด ๆ เช่น พ่อ แม่ กิน เดิน
            ตัวอย่างแบบสร้างของคำมูล 
         คนมี ๑ พยางค์ คือ คน
         สิงโตมี ๒ พยางค์ คือ สิง + โต
         นาฬิกามี ๓ พยางค์ คือ นา + ฬิ + กา
         ทะมัดทะแมงมี ๔ พยางค์ คือ ทะ + มัด + ทะ + แมง
         กระเหี้ยนกระหือรือมี ๕ พยางค์ คือ กระ + เหี้ยน + กระ + หือ + รือ
          จากตัวอย่างแบบสร้างของคำมูล จะเห็นว่าเมื่อแยกพยางค์จากคำแล้ว แต่ละพยางค์ไม่มีความหมายในตัวหรืออาจมีความหมายไม่ครบทุกพยางค์ คำเหล่านี้จะมีความหมายก็ต่อเมื่อนำทุกพยางค์มารวมเป็นคำ ลักษณะเช่นนี้ ถือว่าเป็นคำเดียว
โดด ๆ 


           2. คำประสม
           คำประสม คือ คำที่สร้างขึ้นใหม่โดยนำคำมูลตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมาประสมกัน เกิดเป็นคำใหม่ขึ้นอีกคำหนึ่ง
               ๑. เกิดความหมายใหม่
               ๒. ความหมายคงเดิม
               ๓. ให้ความหมายกระชับขึ้น

ลูกเสือ-เนตรนารี

กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี คือ กระบวนการพัฒนาเยาวชนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาลูกเสือทั้งทางกาย สติปัญญา จิตใจ และศีลธรรม ให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ และช่วยสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสามัคคีและมีความเจริญก้าวหน้า ทั้งนี้เพื่อความสงบสุขและความมั่นคงของประเทศชาติตามแนวทางดังต่อไปนี้

  • ให้มีนิสัยในการสังเกต จดจำ เชื่อฟัง และพึ่งตนเอง

  • ให้มีความซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบวินัย และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

  • ให้รู้จักบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสาธารณะประโยชน์

  • ให้รู้จักทำการฝีมือและฝึกฝนการทำกิจกรรมต่างๆ ตามความเหมาะสม

  • ให้รู้จักรักษาและส่งเสริมจารีตประเพณี วัฒนธรรม และความมั่นคงของประเทศชาติ

ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดให้กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี อยู่ในกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่นักเรียนทุกคนต้องเข้าร่วมกิจกรรมและต้องผ่านการประเมินตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด โรงเรียนอำนวยศิลป์จึงจัดการเรียนการสอนกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 เป็นกิจกรรมตามหลักสูตรลูกเสือ-เนตรนารีสำรอง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 เป็นกิจกรรมตามหลักสูตรลูกเสือ-เนตรนารีสามัญ และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 เป็นกิจกรรมตามหลักสูตรลูกเสือ-เนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่

Amnuay Silpa School Scouts