วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ภาษาไทย

1.การสร้างคำโดยใช้คำมูล คำประสม คำสมาส คำสนธิ คำซ้ำ และคำซ้อน

           การสร้างคำในภาษาไทย
           คำที่ใช้ในภาษาไทยดั้งเดิม ส่วนมากจะเป็นคำพยางค์เดียว เช่น พี่น้อง เดือนดาว จอบไถ หมูหมา กิน นอน ดี ชั่ว สอง สาม เป็นต้น เมื่อโลกวิวัฒนาการ มีสิ่งแปลกใหม่เพิ่มขึ้น ภาษาไทยก็จะต้องพัฒนาทั้งรูปคำและการเพิ่มจำนวนคำ เพื่อให้มีคำใช้ในการสื่อสารให้เพียงพอ กับการเปลี่ยนแปลงของวัตถุสิ่งของและเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยการสร้างคำ ยืมคำและเปลี่ยนแปลงรูปคำซึ่งจะมีรายละเอียดดังนี้

           แบบสร้างคำ
           แบบสร้างคำ คือ วิธีการนำอักษรมาประสมเป็นคำเกิดความหมายและเสียงของแต่ละ พยางค์ ใน ๑ คำ จะต้องมีส่วนประกอบ ๓ ส่วน เป็นอย่างน้อย คือ สระ พยัญชนะและวรรณยุกต์ อย่างมากไม่เกิน ๕ ส่วน คือ สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ ตัวสะกด ตัวการันต์

           รูปแบบของคำ
           คำไทยที่ใช้อยู่ปัจจุบันมีทั้งคำที่เป็นคำไทยดั้งเดิม คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ คำศัพท์เฉพาะทางวิชาการคำที่ใช้เฉพาะในภาษาพูด คำชนิดต่าง ๆ เหล่านี้มีชื่อเรียกตามลักษณะ และแบบสร้างของคำ เช่น คำมูล คำประสม คำสมาส คำสนธิ คำพ้องรูป คำพ้องเสียง คำเหล่านี้มีลักษณะพิเศษเฉพาะ ผู้เรียนจะเข้าใจลักษณะแตกต่างของคำเหล่านี้ได้จากแบบสร้างของคำ

           ความหมายและแบบสร้างของคำชนิดต่าง ๆ     
           1. คำมูล

           คำมูล คือ คำ ๆ เดียวที่มิได้ประสมกับคำอื่น อาจมี ๑ พยางค์ หรือหลายพยางค์ก็ได้ แต่่เมื่อแยกพยางค์แล้วแต่ละพยางค์ไม่มี
ความหมาย คำภาษาไทยที่ใช้มาแต่เดิมส่วนใหญ่ เป็นคำมูลที่มีพยางค์เดียวโดด ๆ เช่น พ่อ แม่ กิน เดิน
            ตัวอย่างแบบสร้างของคำมูล 
         คนมี ๑ พยางค์ คือ คน
         สิงโตมี ๒ พยางค์ คือ สิง + โต
         นาฬิกามี ๓ พยางค์ คือ นา + ฬิ + กา
         ทะมัดทะแมงมี ๔ พยางค์ คือ ทะ + มัด + ทะ + แมง
         กระเหี้ยนกระหือรือมี ๕ พยางค์ คือ กระ + เหี้ยน + กระ + หือ + รือ
          จากตัวอย่างแบบสร้างของคำมูล จะเห็นว่าเมื่อแยกพยางค์จากคำแล้ว แต่ละพยางค์ไม่มีความหมายในตัวหรืออาจมีความหมายไม่ครบทุกพยางค์ คำเหล่านี้จะมีความหมายก็ต่อเมื่อนำทุกพยางค์มารวมเป็นคำ ลักษณะเช่นนี้ ถือว่าเป็นคำเดียว
โดด ๆ 


           2. คำประสม
           คำประสม คือ คำที่สร้างขึ้นใหม่โดยนำคำมูลตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมาประสมกัน เกิดเป็นคำใหม่ขึ้นอีกคำหนึ่ง
               ๑. เกิดความหมายใหม่
               ๒. ความหมายคงเดิม
               ๓. ให้ความหมายกระชับขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น