วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ศิลปะ



ในสมัยโบราณ นักปราชญ์ได้ให้ความหมายของศิลปะ (Art) ไว้ว่า ศิลปะ คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ   เพราะฉะนั้น   ต้นไม้ ภูเขา ทะเล น้ำตก  ความงดงามต่าง  ๆ ตามธรรมชาติจึงไม่เป็นศิลปะ  ดอกไม้ที่เห็นว่าสวยสดงดงามนักหนา ก็ไม่ได้เป็นศิลปะเลย ถ้าหากเรายึดถือตามความหมายนี้แล้ว
สิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นทั้งหลาย ก็ล้วนแล้วแต่เป็นศิลปะทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น  ภาพวาด ภาพพิมพ์ งานปั้น งานแกะสลัก  เสื้อผ้าอาภรณ์  เครื่องประดับ ที่อยู่อาศัยยานพาหนะ เครื่องใช้สอย
ความงามในงาน  ศิลปะออกเป็น 2 ประเภท คือ 
1. ความงามทางกาย (Physical Beauty) เป็นความงามของรูปทรงที่กำหนดเรื่องราว หรือเกิดจากการประสานกลมกลืนกันของทัศนธาตุ เป็นผลจากการจัดองค์ประกอบทางศิลปะ
2.ความงามทางใจ (Moral  Beauty) ได้แก่ ความรู้สึก หรืออารมณ์ ที่แสดงออกมาจากงานศิลปะหรือ ที่ผู้ชมสัมผัสได้จากงานศิลปะนั้น ๆ ในงานศิลปะชิ้นหนึ่ง ๆ มีความงามทั้ง 2 ประเภทอยู่ร่วมกัน  แต่อาจแสดงออกอย่างใดอย่างหนึ่ง  มากน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของงาน  เจตนาของผู้สร้างและการรับรู้ของผู้ชมด้วย

  ดังนั้น  จึงอาจสรุปได้ว่า “ศิลปะเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดความงาม และความพึงพอใจ” ที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์สืบเนื่องกันมาตั้งแต่อดีตอันยาวนานจนถึงปัจจุบัน  และจะสร้างสรรค์สืบต่อไปในอนาคตให้อยู่คู่กับเผ่าพันธุ์มนุษย์ไปตราบนานเท่านาน  โดยมีการ สร้างสรรค์ พัฒนารูปแบบต่าง ๆ ออกไปอย่างมากมายไม่มีที่สิ้นสุดมีคนเป็นจำนวนมากยังไม่เข้าใจคุณค่าของงานทัศนศิลป์ คิดว่าทัศนศิลป์คือสิ่งที่เกินความจำเป็นในการดำรงชีวิตอยู่ จริงอยู่ทัศนศิลป์มิใช่ปัจจัย 4 แต่ก็ให้ประโยชน์และมีคุณค่าต่อชีวิตมนุษย์ในด้านจิตใจและอารมณ์ไม่มากก็น้อย การที่มนุษย์ผู้นั้นจะรู้คุณค่าของงานทัศนศิลป์ได้นั้น ต้องเกิดความเข้าใจและเกิดความชื่นชม ศรัทธาเสียก่อน จึงจะรู้คุณค่าของงานทัศนศิลป์ได้ดี ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเรียนรู้คุณค่าของงานทัศนศิลป์ โดยผลงานทัศนศิลป์สามารถ แบ่งคุณค่าได้เป็น 2 คุณค่าใหญ่ๆ คือ
1. คุณค่าทางความงาม (Aesthetics Value)  ความประณีตความละเอียดมีระเบียบ น่าทึ่ง มโหฬาร ประหลาด แปลกหูแปลกตา และเป็นสิ่งที่มีคุณงามความดีหรือดีเลิศทำให้ผู้พบเห็นเกิดความประทับใจไปอีกนาน สิ่งเหล่านี้เรียกรวมกันว่าคุณค่าทางความงาม ความงามที่มีอยู่ในงานทัศนศิลป์ เกิดจากการประสานกันของส่วนประกอบต่างๆ ของความงามเช่น จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง สี แสงเงา พื้นผิว ความกลมกลืน และการจัดภาพ เป็นต้น โดยผู้สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์จะแสดงออกตามความรู้สึก ในแต่ละเหตุการณ์แต่ละสังคม เพราะความงามของแต่ละสังคมย่อมมีความแตกต่างกัน ดังนั้นถ้าตั้งใจมองงานทัศนศิลป์ทั้ง 3 แขนง อย่างจริงจังโดยสังเกตพิจารณาวิเคราะห์ทุกมุม จะเห็นคุณค่าหรือเสน่ห์ในตัวเอง
2. คุณค่าทางเรื่องราว (Content Value) ผลงานทัศนศิลป์สามารถบอกเล่าเหตุการณ์ เรื่องราว ความเชื่อ และรสนิยมของมนุษย์ในสังคมแต่ละสมัยทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้น การมองคุณค่าในแต่ละสมัยจึงมีความแตกต่างกันออกไป คุณค่าทางเรื่องราวที่นำมาสร้างสรรค์ในงานทัศนศิลป์ มีดังนี้
1. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์
2. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับความเชื่อในสิ่งเร้นลับ ศรัทธา
3. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี
4. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับการเมือง การปกครอง
5. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับวรรณคดี นิทานพื้นบ้าน สำนวน คำพังเพย สุภาษิต
7. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ทัศนธาตุ (Visual Elements)
ในทางทัศนศิลป์ หมายถึง  ส่วนประกอบของศิลปะที่มองเห็นได้ ประกอบไปด้วย
1. จุด (Dot)  หมายถึง  รอยหรือแต้มที่มีลักษณะกลม ๆ  ปรากฎที่พื้นผิว  ซึ่งเกิดจากการจิ้ม กด กระแทก ด้วยวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ  เช่น ดินสอ ปากกา พู่กัน และวัสดุปลายแหลมทุกชนิด จุด เป็นต้นกำเนิดของเส้น รูปร่าง รูปทรง แสงเงา พื้นผิว ฯลฯ เช่น นำจุดมาวางเรียงต่อกันจะเกิดเป็นเส้นและการนำจุดมาวาง
ให้เหมาะสม ก็จะเกิดเป็นรูปร่าง รูปทรง และลักษณะผิวได้
2. เส้น (Line)  เป็นสิ่งที่มีผลต่อการรับรู้  เพราะทำให้เกิดความรู้สึกต่ออารมณ์และจิตใจของมนุษย์  เส้นเป็นพื้นฐานสำคัญของศิลปะทุกแขนง  ใช้ร่างภาพเพื่อถ่ายทอดสิ่งที่เห็นและสิ่งที่คิดจินตนาการให้ปรากฏเป็นรูปภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น